วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

Bed Bath

 การดูแลความสะอาดช่องปาก (mouth  care)
               การดูแลความสะอาดในช่องปากและฟันจะช่วยให้บุคคลมีสุขภาพในช่องปากที่ดีโดยปกติบุคคลควรได้รับการตรวจฟันจากทันตแพทย์ทุก 3-6  เดือน  ผู้ที่มีสุขภาพในช่องปากดี  จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี  โดยปกติควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ  2  ครั้ง แต่จะดีที่สุดถ้าแปรงฟันทุกครั้งหลังการรับประทานอาหาร  และควรใช้ไหมขัดฟันหลังจาก แปรงฟันเสร็จแล้ว   ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดปากและฟันได้เอง  พยาบาลต้อง   ช่วยดูแลให้  เช่น  ผู้ป่วยที่มีไข้สูง  ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว  ผู้ป่วยที่มีบาดแผลในช่องปาก  เป็นต้น 
               จุดประสงค์การทำความสะอาดปากและฟัน
1.            ทำให้ปากและฟันสะอาด
2.            ลดจำนวนแบคทีเรียในช่องปาก  และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่น
3.            สังเกตการณ์ติดเชื้อ  แผลในช่องปาก
                    การดูแลความสะอาดในช่องปากในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว  สามารถทำบ่อยๆได้อย่างน้อยทุก  4  ชั่วโมง  เพราะผู้ป่วยมีเยื่อเมือกในช่องปากแห้ง  ทำให้มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์  และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้   การทำความสะอาดช่องปากในผู้ป่วยที่หมดสติต้องจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงกึ่งคว่ำหันหน้ามาทางพยาบาล  และต้องใช้ไม้กดลิ้นช่วยให้ผู้ป่วยอ้าปาก สอดปากคีบที่คีบผ้ากอซเข้าไปเช็ดที่ลิ้น  ฟัน  กระพุ้งแก้ม  ทำซ้ำๆจนกว่าจะสะอาด   ถ้าสกปรกมากให้ใช้กระบอกฉีดยาต่อกับสายยางแล้วเทน้ำยาใส่กระบอกฉีดยาให้น้ำยาไหลเข้าไปล้างในช่องปาก  หรือใช้ลูกยางแดงดูดน้ำยาทำความสะอาดปาก  บีบน้ำยาเข้าไปล้างภายในปากทีละน้อยๆ  ซึ่งในระหว่างการทำความสะอาดช่องปากให้ผู้ป่วย  จะต้องระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการสูดสำลักน้ำยาที่ใช้ในการทำความสะอาด
ช่องปาก     และหลังทำความสะอาดภายในช่องปากต้องจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สุขสบาย    และทาริมฝีปากผู้ป่วยด้วยน้ำมันมะกอกหรือกลีเซอลีนบอแรกซ์  เพื่อช่วยให้ริมฝีปากชุ่มชื้นไม่แห้งแตก
             
การดูแลความสะอาดเล็บ 
               การดูแลเล็บให้สั้นจะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดีกว่าเล็บยาว   เล็บมือและเท้าจะต้องสั้นและสะอาด   เล็บมือควรตัดเป็นรูปมน  แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดอันตราย  กับหนังกำพร้า  ส่วนเล็บเท้าตัดให้เป็นรูปตรง  เพื่อป้องกันเล็บงอกในเนื้อเยื่อและเป็นแหล่ง  เพาะเชื้อโรค  ระวังไม่ตัดเล็บให้สั้นเกินไปเพราะจะทำให้ลึกเข้าไปในเนื้อ  และรู้สึกเจ็บได้  สำหรับผู้สูงอายุเล็บจะมีความแข็งมาก  ต้องแช่เล็บในน้ำอุ่นก่อนตัดเล็บ  จะสามารถตัดได้ง่ายขึ้น 
               การดูแลความสะอาดของผิวหนัง
                    พยาบาลต้องให้ความสนใจต่อผิวหนังผู้ป่วยในขณะที่เจ็บป่วย  เนื่องจากผู้ป่วย จะมีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ  และติดเชื้อได้ง่าย  จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดผิวหนังทุกวัน ผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงจะมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ  ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง ในการอาบน้ำหรือทำความสะอาดผิวหนังได้ในขณะเจ็บป่วย  พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยดูแลความสะอาดของผิวหนังให้ผู้ป่วย 
              จุดมุ่งหมายในการอาบน้ำให้ผู้ป่วย  มีดังนี้
ทำให้ร่างกายสะอาด
1.            กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตตามส่วนต่างๆของร่างกาย 
2.            ช่วยให้ผู้ป่วยสดชื่น  สุขสบาย  ลดความตึงเครียด
3.            สังเกตลักษณะผิวหนังผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่
               การอาบน้ำให้ผู้ป่วยมีหลายชนิด   ดังนี้
1.            การอาบน้ำบางส่วนของร่างกาย  (partial  bath)  หมายถึง  การอาบน้ำที่อวัยวะบางส่วนของร่างกาย  ซึ่งถ้าไม่อาบแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สุขสบาย  เช่น  มือ  หน้า  รักแร้  ขาหนีบ  และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์  ผู้ป่วยบางรายสามารถทำความสะอาดร่างกายบางส่วนได้เอง  และในส่วนที่ผู้ป่วยทำเองไม่ได้  พยาบาลจะเป็นผู้ที่ช่วยทำให้ในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้เอง  เช่น  บริเวณหลังและเท้า 
2.            การอาบน้ำบนเตียงแบบสมบูรณ์  (complete  bed  bath)  หมายถึง  การอาบน้ำ  ที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมด  พยาบาลต้องเป็นผู้ทำให้ทั้งหมด  เช่น  ในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว  ผู้ป่วยที่อ่อนเพลียไม่มีแรง  หรือผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหว  เป็นต้น
3.            การอาบน้ำที่ห้องน้ำ  ผู้ป่วยสามารถไปอาบน้ำได้เองในห้องน้ำที่มิดชิด  (self  bath)โดยสามารถอาบน้ำได้เอง  หรือในผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้ผู้อื่นช่วยบ้าง
                    ขณะที่ทำความสะอาดผิวหนังให้ผู้ป่วย  สิ่งที่พยาบาลต้องรวบรวมข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับผิวหนัง   คือ  การสังเกตลักษณะของผิวหนัง  ผื่น  ลักษณะที่เสี่ยงต่อการเกิดแผล  เช่น  มีรอยถลอก  รอยแดง  มีแผล หรือพบผิวหนังพอง
                    การดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
               หมายถึง  การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาด  รวมทั้งฝีเย็บ(ในผู้ป่วยเพศหญิง)
               จุดประสงค์
1.            เพื่อกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์  และกำจัดสิ่งที่ขับออกมา
2.            ป้องกันและลดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
3.            ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
    4.    ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หลังการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ  และก่อนอาบน้ำ  ก่อนสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วย
               หลักในการปฏิบัติในการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์  คือ
                    1.    ไม่เปิดเผยผู้ป่วย
                    2.    เช็ดให้แห้งจากบนลงล่าง  และไม่เช็ดย้อนไปย้อนมา  เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
                    3.    สำลีที่เช็ดแล้วไม่ทิ้งลงในหม้อนอน  เพื่อป้องกันการอุดตันของชักโครก
                    4.    ในผู้ป่วยรายที่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเองไม่ได้  หรือได้รับการผ่าตัดบริเวณฝีเย็บ  ทวารหนัก  หรืออวัยวะเพศ  ขาหนีบ  ต้องระมัดระวังการติดเชื้อเข้าสู่ท่อทางเดินปัสสาวะ
                    5.    การเช็ดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์สตรี  มีหลักการเช็ด  ดังนี้ 
                        5.1    สำลีก้อนที่  1  เช็ดจากหัวเหน่าด้านซ้ายไปขวา
                        5.2    สำลีก้อนที่  2  เช็ดแคมนอกด้านไกลตัวจากด้านบนลงสู่ด้านล่างจนถึงทวารหนัก
                        5.3    สำลีก้อนที่  3  เช็ดแคมนอกด้านใกล้ตัวจากด้านบนจนถึงทวารหนัก
                        5.4    สำลีก้อนที่  4  เช็ดแคมในด้านไกลตัวเช่นเดียวกับสำลีก้อนที่ 2
                        5.5    สำลีก้อนที่  5  เช็ดแคมในด้านใกล้ตัวเช่นเดียวกับก้อนที่
                        5.6    สำลีก้อนที่  เช็ดตรงกลางจากด้านบนลงถึงทวารหนัก
                    6.    ในผู้ป่วยเพศชาย  ต้องรูดหนังหุ้มปลายองคชาตขึ้น  แล้วเช็ดเป็นวงกลมจากรูเปิดของท่อปัสสาวะลงมา  เช็ดจนสะอาด  เมื่อเช็ดเสร็จรูดหนังหุ้มปลายองคชาตกลับปิดคงเดิมและเช็ดลูกอัณฑะอย่างเบามือให้สะอาด
                    7.    หลังจากเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อแล้ว   ราดน้ำ และซับอวัยวะเพศของผู้ป่วยให้แห้ง
              
การโกนหนวดเครา
               สำหรับผู้ป่วยชายต้องโกนหนวดทุกวัน  พยาบาลควรช่วยเหลือให้ผู้ป่วย  คือ ก่อนการโกนหนวดควรทำความสะอาดเคราให้อ่อนตัวลง  โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นคลุมไว้  แล้วใช้  ฟองสบู่หรือครีมโกนหนวดทา  ดึงผิวหนังให้ตึง  วางที่โกนหนวดทำมุม  45  องศา  แล้วเคลื่อนไปในช่วงสั้นๆ  ลูบไปตามแนวเส้นขน  เพื่อลดการระคายเคือง  สำหรับผู้ป่วยที่อ่อนเพลีย  ไม่มีแรง และไม่สามารถใช้มือได้สะดวก  พยาบาลต้องทำให้อย่างระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังผู้ป่วยเกิดแผลจากการถูกคมมีดโกนหนวดบาด  หลังจากโกนหนวดแล้วทำความสะอาดผิวหนัง  และซับผิวหนังให้แห้ง
การทำเตียงและสิ่งแวดล้อม  (Unit  Care)
                    การดูแลสภาพแวดล้อม  หมายถึง  การดูแลสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวผู้ป่วย ซึ่งสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้ป่วยอย่างมาก  สภาพแวดล้อม  ที่สะอาดและได้รับการดูแลทุกวัน  รวมทั้งการมีการระบายอากาศที่เหมาะสม  และปราศจาก กลิ่นรบกวน  การจัดวางสิ่งของเป็นระเบียบ  ย่อมสบายตา  ไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค
                    การทำเตียง  (bed  making)
                    การทำเตียง    แบ่งออกเป็น  4   ประเภท  ดังนี้
                    1.  เตียงที่ยังมีผู้ป่วยครองเตียงอยู่  แต่ผู้ป่วยไม่ได้นอนอยู่ที่เตียง  (open bed)เช่น  นั่งข้างๆเตียง   ไปห้องน้ำ    ซึ่งเมื่อทำเตียงเสร็จจะไม่ต้องคลุมผ้า  เพื่อให้ผู้ป่วยเข้านอนได้อย่างสะดวกสบาย
                    2.  เตียงที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง  (occupied  bed)  เป็นเตียงที่มีผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงและไม่สามารถลุกออกจากเตียงได้ในขณะที่ทำเตียง  การทำเตียงประเภทนี้ต้องระมัดระวังมาก  เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายและได้รับความปลอดภัยมากที่สุด
                    3.  เตียงสำหรับรอรับผู้ป่วยที่ดมยาสลบ  (ether  bed)  เป็นการทำเตียงเพื่อรอรับผู้ป่วย    ที่ได้รับยาสลบจากการที่ทำผ่าตัด  การได้รับการตรวจวินิจฉัยอื่นๆ  การทำเตียงแบบนี้มีหลักใน  การปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำเตียงแบบไม่มีผู้รับบริการนอนอยู่บนเตียง  แต่ต้องเตรียมสิ่งของเครื่องใช้เพิ่มเติม  เช่น  ผ้าเช็ดตัว  ผ้ายาง  ผ้าขวางเตียง  ชามรูปไต  ไม้กดลิ้น  เทอร์โมมิเตอร์  เครื่องมือวัดความดันโลหิต  หูฟัง  เสาแขวนขวดสารละลายที่ให้ทางหลอดเลือดดำ  เป็นต้น
                    4.  เตียงว่าง  (closed  bed or  anesthetic  bed)  เป็นเตียงที่ไม่มีผู้ป่วยครองเตียงเป็นการทำเตียงภายหลังจากการที่ผู้ป่วยกลับบ้าน  ย้าย  หรือถึงแก่กรรม  และเป็นการเตรียมเตียงเพื่อรับผู้ป่วยรายใหม่   อาจคลุมด้วยผ้าคลุมเตียง  เพื่อรักษาที่นอนและหมอนให้สะอาด 
               การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนทำเตียง
1.            ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
2.            คำสั่งการรักษาที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย  ข้อควรระวังเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว        
               การประเมินสิ่งแวดล้อมก่อนทำเตียง
1.            ความเพียงพอของแสงสว่าง
2.            การระบายอากาศ
3.            สิ่งกีดขวางการปฏิบัติการพยาบาล
4.            ผู้ป่วยนอนบนเตียงที่สะอาด  เรียบตึง 
5.            ผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติที่ผิวหนัง  เช่น  มีอาการระคายเคือง  คัน  เกิดรอยแดง
6.            ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย  กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
7.            ผู้ป่วยปลอดภัย  ไม่มีอุบัติเหตุขณะทำเตียง
              

การวางแผนการพยาบาลในการทำเตียง
การเตรียมของใช้ในการทำเตียง
1.            ผ้าปูที่นอน
2.            ผ้าขวางเตียง
3.            ผ้ายาง
4.            ปลอกหมอน
5.            ผ้าห่ม
6.            ถังใส่น้ำสะอาด
7.            ผ้าสำหรับทำความสะอาดเตียง
8.            ถังใส่ผ้าเปื้อน
9.            นำสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากเตียงผู้ป่วย
10.    จัดสิ่งแวดล้อมให้สะดวกต่อการทำเตียง  เช่น  มีแสงสว่างพอเพียง  มีการระบายอากาศ  ตลอดจนสิ่งของข้างเตียง  เช่น  เก้าอี้  ให้อยู่เป็นระเบียบ  ป้องกันการกีดขวางขณะทำเตียง
11.    ปิดพัดลมป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองและเชื้อโรค
12.    ในกรณีเตียงมีที่กั้นเตียง  ลดระดับของที่กั้นเตียงลงให้ต่ำกว่าระดับที่นอน
1.            ด้านร่างกาย  ผู้ป่วยต้องปลอดภัยและสุขสบาย  ต้องจัดท่านอนให้ถูกต้อง
               การเตรียมสภาพแวดล้อมในการทำเตียง
               การเตรียมผู้ป่วยสำหรับการทำเตียง
                    2. ด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ  พยาบาลต้องบอกให้ผู้ป่วยทราบ  เพื่อให้ความร่วมมือ
               วิธีการทำเตียงกรณีผู้ป่วยลุกจากเตียงได้
1.            รื้อผ้าปูที่นอน  และถอดปลอกหมอนออก  โดยเก็บด้านสกปรกทบไว้ด้านใน
2.            ทำความสะอาดเตียง  ที่นอน  เช็ดให้แห้ง
3.            กลับที่นอน  และเช็ดให้ทั่ว
4.            ล้างมือให้สะอาด  เช็ดมือให้แห้งแล้วปูที่นอนให้เรียบตึง  โดยคลี่ผ้าปูที่นอนให้ รอยพับอยู่กึ่งกลางที่นอน  เหน็บชายผ้าปูที่นอนด้านหัวเตียงและปลายเตียง   ทำมุมให้เรียบร้อย
5.            ทำเตียงด้านที่เหลือ  เช่นเดียวกัน  และปูผ้ายาง  ผ้าขวางเตียง  ทีละข้าง
6.            พับผ้าห่มไว้ที่ปลายเตียง  เปลี่ยนปลอกหมอน
7.            จัดสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยให้เป็นระเบียบ
8.            ล้างมือให้สะอาด  เช็ดมือให้แห้ง
1.            เก็บสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากเตียงผู้ป่วย  ไขเตียงลงให้ราบ  (กรณีไม่มีข้อห้าม)
2.            พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยให้นอนชิดริมเตียงด้านตรงข้ามกับพยาบาล  จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สุขสบาย
3.            รื้อผ้าปูที่นอนที่อยู่ด้านหลังผู้ป่วยออก  โดยม้วนผ้าปูที่นอน  ผ้าขวางเตียง  และผ้ายางทีละชั้น  เข้าชิดตัวผู้ป่วย  เก็บด้านที่สัมผัสตัวผู้ป่วยไว้ด้านใน 
4.            เช็ดที่นอนให้สะอาด  แห้ง
5.            ปูที่นอนด้วยผ้าปูที่นอนผืนใหม่  ให้รอยกึ่งกลางของผ้าปูที่นอนอยู่กึ่งกลางเตียง  คลี่ผ้าปูออก  โดยม้วนให้ด้านที่จะสัมผัสกับผู้ป่วยอยู่ชิดกับผ้าปูที่นอนผืนเก่า
6.            เหน็บชายผ้าปูที่นอนทางด้านหัวเตียง  ปลายเตียง  ปูผ้ายาง  และผ้าขวางเตียง  โดยมีวิธีการปูเช่นเดียวกับการปูผ้าปูที่นอน
7.            พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยมาด้านที่ปูแล้ว  รื้อผ้าปูที่นอนผืนเก่าออก  ทิ้งลงถังผ้าเปื้อน  เช็ดที่นอนด้านที่เหลือให้สะอาด  แห้ง
8.            คลี่ผ้าปูที่นอน  ผ้ายาง  ผ้าขวางเตียงด้านที่เหลือ  ทับชายผ้าแต่ละชิ้นทางด้านหัวเตียง  ปลายเตียงให้เรียบร้อย  และเรียบตึง
9.            จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สุขสบาย
1.            เปลี่ยนปลอกหมอน  จัดให้ผู้ป่วยหนุนหมอน
2.            จัดสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆของผู้ป่วยให้เป็นระเบียบ
3.            ล้างมือให้สะอาด  เช็ดให้แห้ง
               การทำเตียงกรณีที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง
               การทำเตียงรับผู้ป่วยที่ดมยาสลบ
                    ปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำเตียงที่ไม่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง  แต่ต่างกันที่จะปูผ้ายาง ในตำแหน่งที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด  คลี่ผ้าห่มออกคลุมเตียง  ให้ชายของผ้าคลุมลงไปข้างๆเตียงเท่าๆกัน  พับตลบผ้าห่มที่ปลายเท้าขึ้นมา  ให้ยาวพอที่จะคลุมเท้าผู้ป่วยได้มิดชิด  พับตลบผ้า  ด้านศีรษะลงมาในระดับที่คลี่แล้วจะคลุมบริเวณไหล่ผู้ป่วย
                    การที่พยาบาลทำเตียง และจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย  นอกจากจะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและช่วยลดอัตราการติดเชื้อแล้ว  ยังช่วยส่งเสริม  ให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายทั้งทางร่างกายและจิตใจด้วย
  
การนวด  (Massage)
                    การนวดเป็นศิลปะของการรักษาพยาบาลอย่างหนึ่ง การนวดจะเป็นการกระตุ้น  การไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวหนัง   แล้วยังสามารถแสดงออกถึงความรู้สึกห่วงใย   เอาใจใส่ และความปรารถนาดีต่อผู้ป่วย    โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาตัวอยู่บนเตียงนานๆ จะมีความรู้สึกเมื่อยล้า  การนวดที่สามารถกระทำได้ในหอผู้ป่วย  และที่นิยมปฏิบัติ   คือ การนวดหลัง 
               การนวดหลัง
                    การนวดหลังมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่นอนรับการรักษาอยู่บนเตียง  เนื่องจาก การนอนทำให้การไหลเวียนโลหิต ที่บริเวณหลังจะลดลง    เนื่องจากผิวหนังบริเวณหลังรับน้ำหนักมากเป็นระยะเวลานาน    นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกผ่อนคลาย  ลดความตึงเครียด ของร่างกาย  และช่วยบรรเทาความวิตกกังวล    ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย  และเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยได้อีกด้วย
               การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนการนวดหลัง
                    1.    การตรวจสภาพผิวหนังก่อนการนวดหลัง  ความตึงตัว  ความแห้ง  ไม่ควรนวดหลังในกรณีที่ผู้ป่วยมีแผลที่หลัง  ผิวหนังที่หลังมีรอยแดง  รอยช้ำ  มีผื่นต่างๆ  หรือมีปัญหากระดูกชายโครงหัก  และกระดูกสันหลังหัก
                    2.    ซักถามประวัติความเจ็บป่วย  ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ  หรือความดันโลหิตสูง ควรตรวจสอบชีพจรและความดันโลหิตก่อนการนวดหลัง  เพราะการนวดหลังจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้นได้
               การเตรียมผู้ป่วย
      1.  บอกประโยชน์และอธิบายขั้นตอนการนวดหลังให้ผู้ป่วยทราบ
      2.   สอบถามความต้องการในการนวดหลัง
      3.  เลื่อนตัวผู้ป่วยมาชิดริมเตียงด้านที่จะให้การพยาบาล



การปฏิบัติการพยาบาล
1.  เทโลชั่น  แป้ง  หรือแอลกอฮอล์ลงบนมือพยาบาล  แล้วทาลงบนแผ่นหลังของผู้ป่วย  เพื่อลดแรงเสียดทานขณะนวดหลัง     และช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น   แอลกอฮอล์ช่วยทำให้ผิวหนัง    ของผู้ป่วยให้หนาขึ้น   และช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
 2.  นวดบริเวณแผ่นหลัง  ด้วยวิธีในการนวด  ดังนี้
      2.1  ท่าลูบ  (effleurage  or  stroking)  โดยพยาบาลใช้ฝ่ามือทั้ง   2  ข้าง  วางบนก้นกบของผู้ป่วย แล้วค่อยๆลูบขึ้นไปตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงต้นคอ แล้ววกกลับลงมาตามแนวสีข้าง  และสะโพก  โดยใช้ฝ่ามือลูบช้าๆอย่างนุ่มนวล 
      2.2    ท่าจับกล้ามเนื้อยกบิดไปมาสลับกัน  (petrissage)  ใช้นิ้วหัวแม่มือและปลายนิ้วทั้งสี่ถึงกล้ามเนื้อผู้ป่วยให้อยู่ในอุ้งมือประมาณ  3  นิ้ว  ทั้งสองข้าง  บีบและคลายสลับกัน  พร้อมกับหมุนมือทั้งสองข้างขึ้นลง  โดยไม่ยกมือขึ้น  นวดไปตามแนวกระดูกสันหลัง เนื้อของผู้ป่วยจะถูกยกลักษณะเป็นคลื่น
      2.3  ท่าใช้สันมือสับ  (tapotement)  ใช้สันมือทั้งสองข้างสับลงที่หลัง  ทำสลับกันที่ละมืออย่างเร็วโดยให้แรงที่เกิดจากการสับมาจากการสบัดข้อมือของพยาบาล  โดยสับขวางกับ  เส้นใยของกล้ามเนื้อ  เริ่มสับตั้งแต่หัวไหล่ด้านไกลตัวมาจบที่หัวไหล่ผู้ป่วยด้านใกล้ตัว
       2.4    ท่าใช้อุ้งมือตบ  (percussion) พยาบาลห่อมือให้ปลายนิ้วชิดกันทั้งห้านิ้ว ตบลงบนหลังของผู้ป่วยสลับกันไปทั้งสองมือเป็นจังหวะตามแนวกระดูกสันหลัง
       2.5  ท่าใช้นิ้วหัวแม่มือกด (Digital  kneading) โดยลงบนแผ่นหลังของผู้ป่วยในแนวด้านข้างของกระดูกสันหลัง  เป็นระยะตามยาวตลอดแนวสันหลัง
2.6  ท่าสั่นสะเทือน (Vibration)  ทำได้โดยใช้มือข้างหนึ่งจับมืออีกข้างหนึ่ง  ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งกดด้านข้างกระดูกสันหลังของผู้ป่วย  กดและคลึงเบาๆเป็นแนวยาวไปจนถึงบริเวณก้นกบ
2.7  จบการนวดหลังด้วยท่าการลูบ  ทั้งนี้การนวดในแต่ละท่าจะทำท่าละประมาณ 4-5 รอบ  ระหว่างการนวดจะต้องไม่ปล่อยมือออกจากแผ่นหลังผู้ป่วย   และจบการนวดลงด้วยท่าลูบ
    3. หลังเสร็จสิ้นการนวดหลังใส่เสื้อให้ผู้ป่วย  และจัดท่าให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย
4.  ลงบันทึกลักษณะผิวหนัง  และปฏิกิริยาของผู้ป่วยขณะที่ได้รับการนวดหลัง
  



 การประเมินผลการพยาบาลหลังการนวดหลัง
               1. การไหลเวียนโลหิตที่ผิวหนังเพิ่มมากขึ้น  โดยพิจารณาจาก
                   1.1  ผิวหนังบริเวณหลังและบริเวณที่อยู่เหนือปุ่มกระดูกไม่แดง  ซีด  หรือเป็นแผล
                   1.2  ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย   และสามารถพักผ่อนได้
              2.  สัมพันธภาพระหว่างผู้รับบริการและผู้ป่วยดีขึ้น  โดยพิจารณาจาก
                   2.1  ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
                   2.2  ผู้ป่วยกล้าซักถามปัญหา  และให้ข้อมูลตนเองมากขึ้น
การนวดหลังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายจากการที่กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย  ในขณะนวดหลังพยาบาลไม่ควรละมือจากผิวหนังผู้ป่วย  แลควรนวดติดต่อกันในแต่ละท่าในเวลา 
3-5  นาที  เพื่อให้เกิดการสัมผัสและแรงกดที่สม่ำเสมอ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น